Location Problem (Plant Design #2)

Location Problem

ความสำคัญของการวิเคราะห์เลือกทำเลที่ตั้ง
1. การเลือกทำเลที่ตั้งมีผลระยะยาว
2. การเลือกทำเลที่ตั้งมีผลกระทบต่อ  ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
สาเหตุที่เจ้าของกิจการทำการพิจารณาเลือกที่ตั้งโรงงานใหม่
“ความต้องการในการเพิ่มความสามารถการผลิต”
(เพิ่ม Production Capacity)
โดยปกติสามารถทำได้โดย    
1. ขยายพื้นที่
2. เพิ่มสาขา
3. ย้ายโรงงาน
เพิ่ม Production Capacity => Resource (3M: Man, Machine, Material) เพิ่ม => Space เพิ่ม

ขั้นตอนของการเลือกทำเลที่ตั้ง
1. กำหนดเกณฑ์ (Criteria)
2. กำหนดปัจจัย (Factors)
3. กำหนดทางเลือก (Alternatives)
4. ประเมินทางเลือกต่างๆ (Evaluation)
5. ตัดสินใจ (Making Decisions)


ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้ง
  • ความใกล้กับทางสัญจร (Proximity to Highway)
  • ความใกล้กับสนามบิน (Access to a Major Airport)
  • แหล่งแรงงาน (Labor Supply)  
  • ความใกล้กับแหล่งตลาด (Nearness to Maket)
  • ความใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ (Nearness to Raw Materials)
  • ความใกล้กับที่ตั้งขององค์การหลัก
  • ที่ดิน (land)
  • การขนส่ง (Transportation)
  • แหล่งน้ำ (Water Supply)
  • พลังงานและสาธารณูปโภคต่างๆ (Power Supply )
  • สภาพอากาศ (Climate)   
  • บริเวณสำหรับพักอาศัย (Residential Areas)

รูปแบบของการวิเคราะห์เลือกทำเลที่ตั้ง
  • Qualitative Analysis
  • Quantitative Analysis
[] Weight Method

[] Point Rating

Break Even Analysis
การเลือกทำเลที่ตั้งที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด (Minimize Total Cost) => มีค.สำคัญต่อผู้บริหาร ซึ่งจะใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการเลือกทำเลที่ตั้ง
Total Cost (TC) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อย้ายทำเลที่ตั้งของกิจการไป

!!!! ข้อควรระวัง !!!
1. TC เป็นการประมาณค่าที่จะเกิดในอนาคต ยังไม่เกิดขึ้นจริง
2. ค.เที่ยงตรง ขึ้นกับ ก.เก็บข้อมูลในอดีต

Total Cost (TC) มาจาก 2 ค่า
1. Fixed Cost (FC) = cost ที่ไม่แปรผันไปตามการผลิต
2. Variable Cost(VC) = cost ที่แปรผันไปตามการผลิต
TC = FC + VC (Q)

TC =    ค่าใช้จ่ายรวม
FC = ค่าใช้จ่ายคงที่     
VC =    ค่าใช้จ่ายแปรผัน/หน่วย
Q =    ปริมาณการผลิตต่อหน่วยเวลา
ค่าคงที่: FC, VC
ตัวแปรต้น: Q
ตัวแปรตาม: TC

ดังนั้น TC = FC + VC (Q) เป็นสมการเส้นตรง y = c + mx

[] ขั้นตอนการทำ Break Even Analysis
1. สเกตกราฟของค่าใช้จ่ายรวมของแต่ละทำเล

[] เทคนิค การดูว่าสมการคู่ไหนตัดกัน => เพื่อไม่ให้เสียเวลาหาจุดตัด ของสมการคู่ที่ไม่ตัดกัน

สมการคู่ที่ตัดกัน: (ดูง่ายๆ คือ คู่ TC1,TC2 มีเครื่องหมายเหมือนกับ คู่ VC1,VC2)
1. TC1 < TC2 and VC1 < VC2
2. TC1 > TC2 and VC1 > VC2
สมการคู่ที่ไม่ตัดกัน: (ดูง่ายๆ คือ คู่ TC1,TC2 มีเครื่องหมายตรงข้ามกับ คู่ VC1,VC2)
1. TC1 < TC2 and VC1 > VC2
2. TC1 < TC2 and VC1 > VC2
3. TC1 > TC2 and VC1 < VC2
4. TC1 < TC2 and VC1 > VC2


2. กำหนดจุดคุ้มทุนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
3. เลือกทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุด (โรงงานจะกำหนดปริมาณการผลิตและเงื่อนไขมาให้ แล้วเราก็จะใช้เลือกทำเลที่ดีที่สุดได้)




ตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายคงที่และค่าใช้จ่ายแปรผันของทำเลที่ตั้ง  4 แห่ง คือ ก ข ค และ ง ดังตารางข้างล่าง


[1st] เขียนสมการ และสเกตกราฟ
ทำเล ก: TCก = 250,000 + 11Q
ทำเล ข: TCข = 100,000 + 30Q
ทำเล ค: TCค = 150,000 + 20Q
ทำเล ง: TCง = 200,000 + 35Q

(แก้ รูป)

[2nd] หา Q

การหาจุดตัดระหว่างกราฟ ทำเล ข กับ ทำเล ค  ทำได้โดย
TCข     = TCค
100,000+30Q     =         150,000+20Q   จะได้ว่า
Q     = 5,000    ชิ้น/ปี

การหาจุดตัดระหว่างกราฟ ทำเล ค กับ ทำเล ก  ทำได้โดย
TCค     =           TCก
150,000+20Q     =          250,000 + 11 Q  จะได้ว่า            
Q     =    11,111 ชิ้น/ปี


(แก้ รูป)


ถ้าทำการผลิต  0 - 5,000 ชิ้น/ปี: ควรเลือกทำเลที่ตั้ง ข จึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด

ถ้าทำการผลิต 5,000-11,111 ชิ้น/ปี: ควรเลือกทำเลที่ตั้ง ค จึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด

ถ้าทำการผลิต มากกว่า  11,111 ชิ้น/ปี: ควรเลือกทำเลที่ตั้ง ก จึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด
ดังนั้น  ถ้าคาดว่าปริมาณการผลิตมากกว่า 8,000 ชิ้น/ปี (โรงงานกำหนดค่าประมาณมาให้)
ตอบ:
ถ้าทำการผลิต 8,000-11,111 ชิ้น/ปี: ควรเลือกทำเลที่ตั้ง ค
ถ้าทำการผลิต มากกว่า 11,111 ชิ้น/ปี: ควรเลือกทำเลที่ตั้ง ก

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กรณีที่ 1.
ถ้าทางโรงงานกำหนดว่าเลือก ทำเล ที่ตั้งใหม่ เพื่อ
เพิ่มผลผลิตในช่วงระหว่าง 4000-8000 ชิ้นต่อปี จงหาคำตอบของการเลือกทำเลที่ตั้ง
Ans:
Q = (4,000 , 5,000) => เลือก ทำเล ข
Q = (5,000 , 8,000) => เลือก ทำเล ค

กรณีที่ 2 จากกรณีที่ 1
ถ้า ผลการวิเคราะห์จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
พบว่าคะแนน
ทำเล ก=55 ทำเล ข=60 ทำเล ค=65 ทำเล ง= 45
จงหาคำตอบของการเลือกทำเลที่ตั้ง
Ans:
Q = (5,000 , 8,000) => เลือก ทำเล ค
เพราะ ทำเล ค เป็น maxscore. (ค = 65)

กรณีที่ 3 จากกรณีที่ 1
ถ้า ผลการวิเคราะห์จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
พบว่าคะแนน
ทำเล ก=55 ทำเล ข=60 ทำเล ค=65 ทำเล ง= 70
จงหาคำตอบของการเลือกทำเลที่ตั้ง

Ans:
ทางเลือกที่ 1 (เชิงคุณภาพ): เลือก ทำเล ง แต่จะไม่สามารถผลิตที่ค่าใช้จ่ายต่ำสุดได้ (Min. TC)
เพราะ ทำเล ข เป็น maxscore. (ข = 70)

ทางเลือกที่ 2 (เชิงปริมาณ): เลือก ทำเล ค

เพราะ ทำเล ค คะแนน maxscore. รองลงมา (ค = 65)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Line Balancing (Plant Design #4)

Production Chart

Basic Plant Layouts (Plant Design #3)